พอลิเมอร์

      พอลิเมอร์เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เกิดจากมอนอเมอร์หลายพันหลายหมื่นโมเลกุลมายึดต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของพอลิเมอร์ จำแนกได้ 3 แบบ คือ พอลิเมอร์แบบเส้น พอลิเมอร์แบบกิ่ง พอลิเมอร์แบบร่างแห
พอลิเมอร์นำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยาง เส้นใย

      เซรามิก

           เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย แร่ธาตุต่าง ๆ นำมาผสมกัน แล้วนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรง สามารถคงรูปอยู่ได้  ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเซรามิก เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องแก้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ข้อต่อกระดูกเทียม ฟันปลอม

     วัสดุผสม

             วัสดุผสม คือ การนำวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกัน ทำให้ได้วัสดุที่มีสมบัติที่ดีขึ้น วัสดุที่นำมาผสมกันต้องไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน วัสดุที่นำมาทำวัสดุผสมนั้นอาจจะเป็นพอลิเมอร์  เซรามิก โลหะ คาร์บอน
  
   ผลกระทบจากการใช้วัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และวัสดุผสม

                  ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ความต้องการวัสดุจึงเพิ่มขึ้น ขยะที่เกิดขึ้นจากวัสดุประเภทต่าง ๆ จึงสะสมและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม ยากต่อการกำจัด หากจะเผาก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือหากนำไปฝังก็จะทำให้ดินบริเวณนั้นเสื่อมสภาพ ปัจจุบันจึงมีการรณรงค์เกี่ยวกับการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น การใช้ซ้ำ การลดการใช้ และการนำกลับมาแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เอง




วัสดุในชีวิตประจำวัน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เปิดดู 32 ครั้ง

ช่องของ ครูนัยนา อนงค์ชัย

โรงเรียนโรงเรียนบ้านตาพราม สพป.สุรินทร์ เขต 3





พอร์ลิเมอร์ เซรามิกและโลหะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติทางกายภาพแตกต่างกัน จึงนำมาใช้ประโยชน์ ในชีวิติประจำวันได้อย่างหลากหลาย ตามสมบัติของวัตุแต่ละชนิดวัสดุผสมหรือวัสดุคอมโพสิตประกอบด้วยวัสดุเนื้อหลักและวัสดุเสริมแรงซึ่งเป็นวัสดุต่างชนิดที่มีสมบัติต่างกัน นำมาผสมกันได้เป็นวัสดุใหม่ ที่มีสมบัติดีกว่า วัสดุตั้งต้นแต่ละชนิด
การนำวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก โลหะ และวัสดุผสมมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สามารถนำมมาใช้ได้ อย่างหลากหลายตามสมบัติของวัสดุ แต่ละชนิด วัสดุบางชนิด เช่นพลาสติก สลายตัวยาก การใช่วัสดุอย่างฟุ่มเฟือยและไม่ระมัดระวังอาจก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงควรใช้วัสดุเท่าที่จำเป็นหรือใช้งานอย่างคุ้มค่า



แสดงความคิดเห็น




วัสดุในชีวิตประจำวัน
นัยนา อนงค์ชัย
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 32 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team